information for export & import
- PO, Purchase Order ใบสั่งซื้อสินค้า ใบที่ผู้นำเข้าต้องส่งให้ผู้ส่งออกเพื่อเปิดออเดอร์ เพื่อที่จะใช้เป็นเป็นสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขาย
- PI : ทำหน้าที่เหมือนเป็นใบคอนเฟริม ค่าสินค้าและตัวสินค้า ที่ทางผู้ขายจะส่งให้กับทางผู้ซื้อ
- PI, Proforma Invoice ใบเรียกเก็บเงิน ทำหน้าที่บอก ราคา จำนวนสินค้า เงื่อนไขการซื้อขาย และ รายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ เช่น วันส่งมอบสินค้า เป็นต้น โดยผู้ส่งออกจะออกเอกสารตัวนี้ พอผู้นำเข้าได้รับแล้วผู้นำเข้าก็มีหน้าที่จ่ายเงินตามข้อตกลง
- CI, Commercial Invoice รายการราคา เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ส่งออกต้องออกให้ผู้นำเข้า ใช้สำหรับยื่นแนบไปกับเอกสารอื่นเพื่อออกของกับกรมศุลกากร
- PL, Packing list รายการบรรจุสินค้า เอกสารสำหรับแจ้งว่าสินค้าใด ถูกบรรจุมาแบบไหน อยู่กล่องไหน ทำโดยผู้ส่งออก
- D/O, Delivery order ใบปล่อยสินค้า ผู้นำเข้าจำเป็นจะต้องใช้เอกสารนี้สำหรับนำไปปล่อยตู้สินค้าที่ท่าเรือ/ท่าอากาศยาน โดยผู้ที่จะออกให้คือผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
- B/L, Bill of Lading ใบตราส่งสินค้าทางเรือ ผู้ส่งออกต้องให้ข้อมูลกับทางผู้ให้บริการขนส่งเพื่อออกเอกสารตัวนี้ ส่วนผู้นำเข้าต้องใช้ และผู้นำเข้าควรจะขอตรวจแบบร่างก่อนที่จะออกตัวจริงทุกครั้ง
- AWB, Airway bill ใบตราส่งทางอากาศ เหมือนใบตราส่งทางเรือ แต่ข้อมูลก็จะแตกต่างกันเล็กน้อย
- C/O, Certificate of origin หนังสือยืนยันถิ่นกำเนิด ออกโดยรัฐบาล ติดต่อได้ที่ กรมการค้าระหว่างประเทศมีประโยชน์ในการรับสิทธิภาษี
- Insurance ประกันภัยขนส่งสินค้า คือยันต์กันความเสียหายที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการขนส่ง ซึ่งค่าป้องกันสูงสุดของมันอยู่ที่ 90% ของมูลค่าสินค้าเลยทีเดียว
- Import/Export Entry ใบขนสินค้าขาออก/ขาเข้า เป็นเอกสารสำหรับแจ้งข้อมูลสินค้าทั้ง ชนิด จำนวน และราคา ให้กับกรมศุลกากรทราบ เพื่อที่จะได้คิดคำนวนภาษีและเก็บข้อมูลการนำเข้าส่งออกของเรา จัดทำโดยชิปปิ้ง(Shipping)
การวางแผนการขนส่ง
- Cargo ready
- Cut offวันที่สายเรือปิดรับสินค้าเช่น 2 Oct คือเราต้องทำสินค้าให้ผ่านศุลกากรในวันที่2
- ETD ( Estimate time of Departure)วันที่เรือออก
- T/Tเวลาที่ใข้ในการขนส่ง XX day
- ETA ( Estimate time of arrival )ประมาณการเรือถึง ควรจะเผื่อเวลาจากความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย
- ภาษีคำนวนจาก
- C = ราคาสินค้า ดูจาก Commercial Invoice
- I = Insurance
- F = ค่าขนส่ง ค่าระวาง
C+I+F = ราคา CIF
ราคา CIF x อัตราภาษี = ภาษีนำเข้า
ภาษีนำเข้า + ราคา CIF = ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฐานภาษีฯ x อ้ตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีนำเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = final Tax ที่ต้องจ่ายกรมศุลกากร
สิ่งที่ต้องเตรียมไว้เวลาถามพิกัด และ shipping
ปัญหาที่เจอบ่อยๆ
การสำแดงพิกัด ถ้าภาษีถูกกว่าพิกัดจริง จะโดนข้อหาสำแดงเท็จ จะต้องจ่ายอากรที่ขาดให้ครบและเสียค่าปรับอีก 2เท่าและ VAT 2 เท่า สมัยนี้ท่าเรือมีเครื่อง X-ray จะรู้เลยว่าของข้างในคืออะไร ที่สำศัญคือโดน Blacklist และ ต้องไปเคลียของด้วย ถ้าไม่ไปเอาออกจะโดนปรับไปเรื่อย ๆ
- นายตรวจบอกราคาสินค้าต่ำเกินไป สินค้าที่เข้ามาน่าจะมีมูลค่ามากกว่านี้ ถ้าเจ้าหน้าที่นายตรวจแจ้งแบบนี้เราต้องหาเอกสารมายืนยัน เพื่อให้เค้าเห็นว่าเราซื้อสินค้ามาด้วยมูลค่านี้จริง
- ใบอนุญาตผิด เช่น ออกชื่อบุคคลธรรมดา แต่จะเรานำเข้าในนามบริษัท นิติบุคคล ก็ไม่ได้ เอกสารต้องตรงกัน ไม่งั้นต้องไปตามแก้ ขอดูดราฟ ตอนเรือยังไม่ออก BL invoice มาตรวจให้เรียบร้อยว่าตรงกับใบอนุญาติเราหรือป่าว ก่อนเรือออก
มีวิธีดูสินค้ายังไงว่า สินค้าจีน คุณภาพดี
- ดูcertificate ส่วนใหญ่ในจีน Alibaba จะค่อนข้างน่าเชื่อถือ และจะเป็นคนตรวจสอบให้ แต่อาจมีค่า outsauce ตรวจสอบให้
- บินไปดูของจริงเอง ไม่อย่างนั้นหากเกิดไรขึ้นมา ต้องไปฟ้องร้องเองที่ประเทศของเขา
ถ้า ทำประกัน CLAUSE A แล้วเรือโดนพายุแล้วตู้ตกเรือ จะได้ค่าประกันไหม
ได้ แต่ B กับ C ไม่ครอบคลุมเพราะฉะนั้นทำประกันไว้คุ้มกว่า
ต้องนำเข้าขนาดไหน ถึงจะ คุ้มค่าส่ง
เวลาคำนวนประกันภัย
มูลค่าสินค้า 100 บาท ต้องไปคูณ 110 % แล้วค่อยเอาไปคูณกับ rate ที่เค้าให้มา ส่วนใหญ่ จะ 0.15–0.3 % ให้คิดที่ 0.3% ก่อนจะประมาน 540 บาท Ps. ถ้าเป็นเงินต่างประเทศ ให้แปลงเป็นเงินไทยก่อนแล้วค่อยเอามาคูณ
ขั้นตอนนำเข้าส่งออกที่ควรรู้
ขั้นตอนนำเข้าส่งออก เมื่อเริ่มต้นซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศไม่ว่าคุณจะนำเข้าหรือส่งออกอะไรผ่านเส้นทางไหนก็จะต้องผ่านทั้ง 8 ขั้นตอนเหล่านี้มาดูกันว่าละแต่ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มแรกไปจนถึงปลายทางมีอะไรบ้าง เมื่อตกลงการสั่งซื้อหรือขายสินค้าแล้ว ทางฝ่ายผู้ขายก็จะต้องเริ่มจากผลิตสินค้าให้คุณหรือเตรียมสินค้าในโกดังให้พร้อมจัดส่ง ขั้นตอนการส่งออกสินค้าก็จะมีดังนี้
1. เริ่มนำเข้าส่งออกที่โรงงานผู้ขาย
จุดแรกของการนำเข้าส่งออกการขนส่งย่อมไม่พ้นผู้ขายหรือผู้ผลิตไปได้ ซึ่งในจุดนี้ส่วนใหญ่เรามักจะเรียกมันว่า “หน้าโรงงาน” ในภาษาไทย หรือ “Shipper” ในภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ที่เรียกว่าโรงงานก็เพื่อความสะดวกในการเรียก ถึงแม้มันจะเป็นร้านเล็ก ๆ หรือโกดังเก็บสินค้าก็ตาม ส่วน Shipper นั้นจะใช้เวลาคุยกับชาวต่างชาติเพราะแปลตรงตัวว่าผู้ส่งออกหรือผู้ขายหรือใครจะใช้คำตรงตัวอย่าง โรงงาน Factory, โกดัง Warehouse หรือ ร้าน Shop ก็ได้เช่นกัน
2. การขนส่งในประเทศต้นทาง
เมื่อตกลงซื้อขายกันเสร็จสิ้นแล้วสินค้าจะถูกบรรจุและแพ็คกิ้งขึ้นรถบรรทุกเพื่อขนส่งไปยังท่าเรือ/ท่าอากาศยานต่างๆ แล้วจึงถ่ายโอนสินค้าต่อไปยังทางเรือหรือทางเครื่องบินเพื่อจัดส่งออกไปยังประเทศปลายทาง เรียกว่า Trucking, Pick-up, Inland หรือ Inland freight
3. การทำพิธีการศุลกากรขาออก
ในขั้นตอนนี้ผู้ขาย(Shipper) หรือตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(Freight Forwarder) ที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้จะมีหน้าที่ในการสำแดงสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ( Customs House) ว่าสินค้าอะไรจะออกจากประเทศนั้น จุดนี้ภาษาเฟรทเรียกว่า Outbound Customs Clearance และปกติแล้วขั้นตอนนี้จะกินเวลาไม่นาน หากไม่เจอปัญหาอะไร
4. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานต้นทาง
เมื่อศุลกากรได้ตรวจปล่อยสินค้าแล้ว สินค้าก็จะได้รับอนุญาตให้เอาขึ้นเรือหรือเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้เพื่อขนส่งออกจากประเทศผู้ขาย ในจุดนี้ภาษาเฟรทเราจะเรียกว่า Port of Loading(POL) แต่ไม่ใช่ว่าทำพิธีการเสร็จแล้วเรือหรือเครื่องบินจะออกทันที ยังต้องมีการผ่านกระบวนการในท่าฯอีกพอสมควร
5. ท่าเรือ/ท่าอากาศยานปลายทาง
ตอนนี้สินค้าก็ได้เดินทางมาถึงยังประเทศของผู้ซื้อแล้ว จุดนี้เมื่อเรือหรือเครื่องบินจอดเทียบท่าแล้ว สินค้าจะถูกลำเลียงเข้าโกดังไว้ รอให้ผู้ซื้อหรือตัวแทนออกของและศุลกากรมาตรวจปล่อยสินค้าต่อไป ในจุดนี้ภาษาเฟรทเราจะเรียกว่า Port of Discharge(POD)
6. พิธีการศุลกากรสินค้าขาเข้า
เจ้าพนักงานศุลกากรจะมาตรวจสินค้าที่ผู้ซื้อนำเข้ามาว่าสินค้าที่คุณนำเข้ามาตรงกับที่ได้แจ้งกับกรมศุลกากรไว้หรือไม่ เสียภาษีตรงกับฐานภาษีที่กรมศุลกากรกำหนดหรือไม่ เป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาอะไรเมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็ขนออกจากท่าเรือ/ท่าอากาศยานได้ จุดนี้คือ Inbound Customs Clearance
7. ขนส่งจากท่าเรือ
สินค้าที่ตรวจปล่อยแล้วก็ขนไปยังผู้รับ การขนส่งทางรถในประเทศไทยนั้นมีข้อกำหนดสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่กว่ากระบะ จำง่าย ๆ ว่าในช่วงเวลา เช้า 05.00 – 09.00 และ เย็น 16.00 – 20.00 ตอนพนักงานเข้างานและเลิกงานคือช่วงที่รถใหญ่ห้ามวิ่งในเขตเมือง
8. ผู้ซื้อ
ตอนนี้ขั้นตอนสุดท้ายคือ ผู้ซื้อ(Consignee) ทำการรับสินค้า ถือเป็นอันเสร็จสิ้นภาระกิจขนส่งสินค้า ในขั้นตอนนี้ก่อนที่จะรับมอบสินค้า ผู้ซื้อที่ดีควรจะตรวจดูความเรียบร้อยของสินค้าก่อนทำการรับมอบทุกครั้ง
ผ่านไปแล้วทั้ง 8 จุดที่คุณควรจะเข้าใจก่อนทำการนำเข้าหรือส่งออก
ในการขนส่งแต่ละประเทศก็จะมีเวลาในการขนส่งไม่เท่ากันแต่ขั้นตอนก็จะอยู่ใน 8 ข้อนี้แน่นอน